ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

รายงานพิเศษ

[๐ รายงานพิเศษ][bsummary]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]

กลุ่มหนุน “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ” โวยสภาพัฒน์ทำ SEA ฟังแต่กลุ่มค้าน






เศรษฐกิจ: กลุ่มหนุน “นิคมอุตสาหกรรมจะนะ“ กว่า 50 คนยื่นหนังสือถึงนายกรัฐมนตรี-สภาพัฒน์ อ้างทำ SEA ฟังความข้างเดียว เฉพาะกลุ่มค้าน ไม่ฟังข้อมูลให้รอบด้าน

30 สิงหาคม 2565 - เวลา 14.00 น. เครือข่ายประชาชนจะนะ อาสาเพื่อพัฒนาถิ่น นำโดย นางมณี อนันต์ทบริพงษ์ พร้อมด้วยตัวแทนชาวบ้านในพื้นที่ ต.สะกอม ต.ตลิ่งชัน ต.นาทับ อ.จะนะ ซึ่งเป็นกลุ่มชาวบ้านที่สนับสนุนโครงการเมืองต้นแบบนิคมอุตสาหกรรมจะนะกว่า 50 คน ได้เดินทางมาสำนักพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมภาคใต้ ต.เขารูปช้าง อ.เมือง จ.สงขลา เพื่อยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมในการดำเนินการจัดทำรายงานการศึกษาระดับยุทธศาสตร์ หรือ SEA ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2564 โดยมีนางพรรธิภา รัตนะ ผู้เชี่ยวชาญด้านยุทศาสตร์จังหวัดสงขลา เป็นผู้รับหนังสือ

กลุ่มเครื่อข่ายประชาชนจะนะ อาสาเพื่อพัฒนาถิ่น ได้ตั้งข้อสังเกตุว่า การจัดทำ SEA ซึ่งมีสำนักงานสภาพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเป็นผู้ดำเนินการไม่ได้รับฟังเสียงสะท้อนของชาวบ้านส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่ต้องการสนับสนุนโครงการ แต่กลับลงพื้นที่ไปรับฟังข้อมูลจากกลุ่มคัดค้านโครงการเพียงด้านเดียว ดังนี้ 1.การกำหนดพื้นที่ในการพบกับประชาชน ในพื้นที่ดำเนินโครงการนั้น ไม่ได้มีการสุ่มพื้นที่ของประชาชนจริงๆ ตามที่แจ้งมาตั้งแต่ต้น แต่กลับมีการประสานงานเป็นอย่างดีกับกลุ่มที่มีความคิดเห็นคัดค้านโครงการ โดยสังเกตได้จากก่อนที่จะลงพื้นที่ กลุ่มคัดค้านได้มีการเตรียมความพร้อม และประกาศแจ้งเพื่อรวมตัวกัน พร้อมกับเชิญชวนผ่านเสียงตามสายล่วงหน้า



2.การกำหนดพื้นที่ลงไปพบชุมชน เป็นการเลือกพบแบบมีนัย ซึ่งพุ่งเป้าไปที่กลุ่มผู้คัดค้านโดยตรง เช่นกลุ่มเกษตรกร โดยส่วนใหญ่ไม่ใช่เป็นเกษตรกรที่เป็นพืชเศรษฐกิจในพื้นที่ แต่ขณะเดียวกัน กลุ่มเกษตรกรยางพาราปาล์มน้ำมัน และกลุ่มประมงพื้นบ้านในพื้นที่ไม่มีโอกาสนำเสนอข้อมูล ข้อเท็จจริงและปัญหา ซึ่งเป็นเกษตรกรในพื้นที่ อีกครั้งการลงพื้นที่ศึกษา ก็ยังคงเลือกสถานที่ศึกษาที่เป็นเป้าหมายของกลุ่มผู้คัดค้าน โครงการมาตั้งแต่ต้น และที่สำคัญพื้นที่ที่ศึกษาไม่ได้เป็นพื้นที่ที่มีผลกระทบโดยตรง ขณะที่คนในพื้นที่สะกอม ตลิ่งชัน นาทับ กลับไม่มีโอกาสแสดงความคิดเห็นและแลกเปลี่ยนมุมมองในมิติ การศึกษา และปัญหาเยาวชนในพื้นที่ ซึ่งเป็นอนาคตของประเทศชาติ

3.ในการลงพื้นที่ดังกล่าวเป็นการลงพื้นที่ มีผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะเป็นผู้กำหนดเส้นทางและจุดนัดหมาย ซึ่งเป็นที่ทราบกันดีว่า ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะเป็นหนึ่งในผู้นำทางความคิดในการคัดค้านโครงการมาตลอด

นางมณี อนันต์ทบริพงษ์ ตัวแทนชาวบ้าน กล่าวว่า เครือข่ายและตัวแทนชาวบ้านกังวล และไม่สบายใจเป็นอย่างยิ่ง ดังนั้น เพื่อความเป็นธรรมของประชาชนส่วนใหญ่ในพื้นที่ที่จะดำเนินโครงการ จึงขอให้สภาพัฒน์ฯ ทบทวนบทบาทและภารกิจในฐานะเป็นหน่วยงานที่ใช้เงินภาษีของประชาชน ซึ่งต้องตระหนักว่าจะต้องทำหน้าที่เพื่อประชาชน ไม่ใช่ไปเป็นเครื่องมือของกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง และหากต้องการทำ SEA แบบหวังผล เพื่อสนองกลุ่มบุคคล จะทำให้เป็นการเสียภาษีของประชาชนแบบเปล่าประโยชน์

หลังจากนั้น เครือข่ายประชาชนจะนะ อาสาเพื่อพัฒนาถิ่น ได้เดินทางไปยังศาลากลางจังหวัดสงขลา เพื่อยื่นหนังสือและข้อเรียกร้องดังกล่าวไปยังนายกรัฐมนตรีผ่านผู้ว่าราชการจังหวัดสงขลา โดยมีนายรุ่งโรจน์ และสูบ ผู้อำนวยการศูนย์ดำรงธรรมจังหวัดสงขลา เป็นตัวแทนรับหนังสือ

ไม่มีความคิดเห็น: