อบจ.สงขลาเดินหน้าผังเมืองเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ




เศรษฐกิจ: อบจ.สงขลาเลือก มทร.ศรีวิชัยจัดทำโครงการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน 9 อปท.ในการจัดทำผังเมืองตามโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา ตามที่คณะกรรมการผังเมืองมีมติให้จัดทำการรับฟังความคิดเห็นอีกครั้งก่อนเสนอคณะกรรมการผังเมือง จ.สงขลา กำหนดให้ประชุมกลุ่มใหญ่ 1 ครั้งๆ ละ 200 คน  กลุ่มย่อย 3 ครั้งๆ ละ 20 คน



7 ต.ค. - องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) สงขลาประกาศเมื่อวันที่29 ก.ย. ให้มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลศรีวิชัยเป็นผู้ได้รับการคัดเลือกดำเนินโครงการจ้างเหมาบริการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชน ตาม  พ.ร.บ.การผังเมือง พ.ศ. 2562 วงเงิน 4 แสนบาทถ้วน ในพื้นที่ 9 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นในเขต อ.จะนะ จ.สงขลา ได้แก่ 1.ทต.จะนะ 2.ทต.บ้านนา 3.ทต.นาทับ 4.อบต.ป่าชิง 5.อบต.นาหว้า 6.อบต.สะกอม 7.อบต.จะโหนง 8.อบต.คลองเปียะ และ 9.อบต.ตลิ่งชัน รวมพื้นที่วางผัง 372.15 ตารางกิโลเมตร เพื่อรองรับโครงการเมืองต้นแบบอุตสาหกรรมก้าวหน้าแห่งอนาคต อ.จะนะ จ.สงขลา ซึ่งเป็นไปตามมติคณะกรรมการนโยบายการผังเมืองแห่งชาติครั้งที่ 1/2564 ที่ให้ดำเนินการจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนในพื้นที่ใหม่อีกครั้งก่อนเสนอคณะกรรมการผังเมือง จ.สงขลาพิจารณาในขั้นตอนต่อไป



ขอบเขตของงานตามโครงการดังกล่าวมีดังนี้ 1.จัดทำแผนการดำเนินงาน 2.จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนกลุ่มย่อย 3 ครั้ง ในพื้นที่ ต.นาทับ ตลิ่งชัน และสะกอม โดยต้องมีผู้ร่วมประชุมในแต่ละกลุ่มย่อยไม่น้อยกว่า 20 คน เพื่อให้ข้อมูลที่เพียงพอ และจัดประชุมผู้ที่อยู่ในพื้นที่จัดทำผังเมืองอีก 1 ครั้ง 3.ให้มีการประชาสัมพันธ์การประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนที่เพียงพอต่อการที่ประชาชนจะเข้าใจถึงผลกระทบและแนวทางเยียวยาความเดือดร้อน หรือความเสียหายแก่ประชาชนหรือชุมชน  เช่น จัดทำเอกสารและลงประกาศในหนังสือพิมพ์รายวันอย่างน้อย 1 ฉบับ ทางวิทยุกระจายเสียงอย่างน้อย 3 สถานี และทางระบบเครือข่ายสารสนเทศติดต่อกันไม่น้อยกว่า 7 วัน และติดประกาศและข้อมูลไว้ตามสถานที่ต่างๆ อาทิ สำนักงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ก่อนวันรับฟังความคิดเห็นไม่น้อยกว่า 15 วัน


ทั้งนี้ ในภาคผนวกของขอบเขตงานหรือทีโออาร์และราคากลางโครงการนี้ได้กำหนดค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้ อาทิ การจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นของประชาชนและกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 1 ครั้ง จำนวน 200 คน เป็นค่าอาหารว่างและเครื่องดื่มคนละ 50 บาท เป็นเงิน 10,000 บาท ค่าอาหารกลางวันคนละ 100 บาท เป็นเงิน 20,000 บาท และค่าเอกสารชุดละ 70 บาท เป็นเงิน 14,000 บาท ส่วนประชุมกลุ่มย่อยกำหนดไว้ 3 ครั้งๆ ละ 20 คนมีค่าใช้จ่ายต่อคนเท่ากับประชุมกลุ่มใหญ่ และค่าประชาสัมพันธ์โครงการเป็นเงิน 134,000 บาท


ไม่มีความคิดเห็น:

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]