ศพคนไทยล้มคาถนน: ภาพอนาคตอันน่าสยดสยองจากอุบัติเหตุที่รุนแรงขึ้นทุกปี







ประเทศไทย นับเป็นประเทศที่ติดอันดับต้นๆ ของโลกในด้านจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อประชากร

จากสถิติอุบัติเหตุบนท้องถนนปี 2566

ศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า
  • จากข้อมูลที่มีการรายงานเข้ามาตั้งแต่ต้นปีถึงเดือนสิงหาคม 2566 มีผู้เสียชีวิต 14,145 ราย 
  • บาดเจ็บ 808,093 ราย 
ในขณะที่ศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 
  • ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 17,498 ราย
จำนวนผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บเหล่านี้สร้างความสูญเสียมหาศาลแก่ประเทศ คิดเป็นมูลค่าความเสียหายทางเศรษฐกิจสูงถึง 5 แสนล้านบาท

สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (ทีดีอาร์ไอ) ได้ติดตามสถิติข้อมูลอุบัติเหตุทางถนนของไทย ตั้งแต่ปี 2563-2566 พบว่า 
  • ในทศวรรษที่ผ่านมา หรือช่วงปี 2555 – 2565 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน เฉลี่ย 19,733 คนต่อปี 
  • ช่วงปี 2560-2564 มีผู้บาดเจ็บสาหัสเฉลี่ย 240,044 คนต่อปี

เมื่อเราเพิ่มสถิติเชิงลึกเกี่ยวกับอุบัติเหตุจำแนกรายจังหวัด เพื่อให้เห็นภาพที่ชัดเจนยิ่งขึ้นว่าปัญหานี้รุนแรงในพื้นที่ใดบ้าง

จากสถิติของศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กระทรวงสาธารณสุข ในปี 2566 จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนสูงที่สุด เมื่อเทียบกับจำนวนประชากร 1 แสนคน คือ 
  • จ.ระยอง อยู่ที่ 65.63 คน 
  • รองลงมาคือ จ.ชลบุรี 44.10 คน 
  • จ.สระบุรี 41.92 คน 
  • จ.จันทบุรี 41.89 คน 
  • และ จ.ชัยนาท 41.06 คน





ประเภทของพาหนะที่เกิดอุบัติเหตุสูงสุดคือ รถจักรยานยนต์ เสียชีวิตมากที่สุด 9,489 คน 
  • ส่วนใหญ่เป็นประชากรกลุ่มอายุ 15-19 ปี โดยจากสถิติในปี 2566 ตั้งแต่ต้นปีจนถึงเดือนสิงหาคม ประชากรกลุ่มนี้บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 280,535 ราย 
  • รองลงมาคือกลุ่มอายุ 20-24 ปี บาดเจ็บและเสียชีวิตรวม 219,392 ราย 
  • อันดับสามคือกลุ่มอายุ 25-29 ปี 168,626 ราย


เมื่อวิเคราะห์สาเหตุหลัก พบว่ามาจากพฤติกรรมขับขี่อย่างประมาท โดยอุบัติเหตุส่วนใหญ่เกิดจากขับรถเร็วเกินกำหนด 28% ดื่มแล้วขับ 25% ขับแซงกระชั้นชิด 22% และใช้โทรศัพท์ขณะขับขี่ 15% สาเหตุรองลงมาคือปัญหาโครงสร้างพื้นฐานทางถนน จากข้อมูลพบว่า 60% ของอุบัติเหตุเกิดจากถนนชำรุด ไร้สัญญาณไฟจราจร ทางม้าลายและจุดตัดทางรถไฟไม่ได้มาตรฐาน เป็นต้น

นอกจากนี้ยังมีข้อมูลที่น่าสนใจว่า ในจำนวนผู้ได้รับบาดเจ็บและเสียชีวิตเป็นผู้ที่ไม่สวมหมวกนิรภัยสูงถึง 90.70%

ส่วนในปี 2567 นี้ แม้จะผ่านมายังไม่ถึง 4 เดือน ข้อมูล ณ วันที่ 25 เมษายน เวลา 02.00 น. ของศูนย์ข้อมูลอุบัติเหตุ เพื่อเสริมสร้างวัฒนธรรมความปลอดภัยทางถนน ระบุว่า 
  • มีผู้เสียชีวิตสะสมแล้ว 4,938 ราย 
  • บาดเจ็บ 275,483 ราย 
  • ประเภทของรถที่ยังครองแชมป์คือ รถจักรยานยนต์ ผู้เสียชีวิตถึง 81% และผู้บาดเจ็บ 78%
ส่วนจังหวัดทีมีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บสูงสุดคือ 
  • กรุงเทพฯ เสียชีวิต 294 ราย บาดเจ็บ 45,104 ราย 
  • รองลงมาคือ จ.ชลบุรี เสียชีวิต 200 ราย บาดเจ็บ 13,759 ราย



ทั้งนี้ ได้มีความพยายามในการลดอุบัติเหตุด้วยมาตรการต่างๆ อย่างต่อเนื่อง ส่วนหนึ่งคือการตั้งเป้าหมายการลดอุบัติเหตุร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติ ประเด็นโครงสร้างพื้นฐาน ระบบโลจิสติกส์ และดิจิทัล เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดอุบัติเหตุบนท้องถนนก่อนปี 2570 อีกทั้งยังเป็นเป้าหมายของแผนแม่บทด้านความปลอดภัยทางถนนของประเทศไทยฉบับที่ 5 (พ.ศ. 2565-2570)

เป้าหมายการลดจำนวนผู้เสียชีวิตให้เหลือเท่ากับ 12 คนต่อประชากรแสนคน หรือ 8,478 คน ในปี 2570 กำหนดให้ปีตั้งต้นในการคำนวณเป้าหมายคือ ปี 2563 โดยวิเคราะห์จากระดับความรุนแรงของสถานการณ์อุบัติเหตุ

ขณะนี้ แม้ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนต่อปีจะลดลงบ้าง แต่ก็ดูยังห่างไกลจากเป้าหมาย

ปี 2563 เป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน 27.2 คนต่อแสนประชากร 
  • ปีนั้นมีอัตราผู้เสียชีวิตจริง 27.2 คน ต่อแสนประชากรพอดี 
  • มียอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ 17,831 คน





๐ ปี 2564 ตั้งเป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน 25.0 คนต่อแสนประชากร ง
  • พบว่ามีอัตราผู้เสียชีวิตจริง 25.9 คนต่อแสนประชากร 
  • งยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ 16,957 คน 
  • มีเป้าหมายผู้เสียชีวิตไม่เกิน 16,494 คน 
  • ถือว่าเกินเป้า 463 คน
๐ ปี 2565 เป้าหมายอัตราผู้เสียชีวิตต้องไม่เกิน 22.9 คนต่อแสนประชากร 
  • ปรากฏว่ามีอัตราผู้เสียชีวิตจริง 26.67 คนต่อแสนประชากร 
  • ยอดผู้เสียชีวิตสะสมรวมทั่วประเทศ 17,379 คน 
  • ในขณะที่เป้าหมายผู้เสียชีวิตไม่เกิน 15,158 คน 
  • ถือว่าเกินเป้าไป 2,221 คน


กลับไปดูตัวเลขปี 2566 ข้อมูลของศูนย์ข้อมูลกลางด้านการบาดเจ็บ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ในปี 2566 มีผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนน 17,498 ราย

หมายความว่า แม้ว่าจำนวนผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนของไทยจะลดลงจากปีตั้งต้นโครงการ คือปี 2563 แต่ก็ถือว่าจำนวนที่ลดลงนั้นน้อยมาก เพียง 333 คน

ในขณะที่เมื่อมองภาพรวมของการตั้งเป้าหมายการลดอุบัติเหตุร่วมกันของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ภายใต้แผนแม่บทภายใต้ยุทธศาสตร์แห่งชาติแล้ว จะเห็นได้ว่า ไม่ได้เป็นไปตามเป้าหมาย

ในทางตรงกันข้าม ตัวเลขผู้เสียชีวิตจากอุบัติเหตุทางถนนจะมีแนวโน้มที่สูงขึ้น!

###








ไม่มีความคิดเห็น:

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]