กอ.รมน.ภาค 4 ตั้งคณะทำงานตรวจสอบ-ดำเนินคดีกลุ่มบิดเบือนประวัติศาสตร์



ชายแดนใต้: ผอ.รมน.ภาค 4 ตั้ง 22 ทหาร-ตำรวจนั่งคณะทำงานติดตามตรวจสอบกิจกรรมบิดเบือนประวัติศาสตร์ของภาคประชาสังคมและด้านการเมือง มี “พล.ต.ไพศาล” รองแม่ทัพภาค 4 เป็นหัวหน้า ให้อำนาจฟ้องดำเนินคดีตามกฎหมายได้

30 มกราคม 2566 - พล.ท.ศานติ ศกุนตนาค แม่ทัพภาคที่ 4 ในฐานะผู้อำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาค 4 (ผอ.รมน.ภาค 4) ลงนามในคำสั่งกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในภาคที่ 4 ส่วนหน้า (กอ.รมน.ภาค 4 สน.) ลงวันที่ 9 มกราคม 2566 เรื่อง แต่งตั้งคณะทำงานติดตามตรวจสอบกิจกรรมที่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของภาคประชาสังคมและด้านการเมือง

มีวัตถุประสงค์เพื่อให้การติดตามตรวจสอบการจัดกิจกรรมที่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์ของภาคประชาสังคมและด้านการเมือง ในการหาข้อมูล ประเด็นความผิดเพื่อใช้ในการดำเนินคดีตามกฎหมายเป็นไปด้วยความเรียบร้อย และปฏิบัติภารกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพสมความมุ่งหมายของทางราชการ จึงจัดตั้งคณะทำงานติดตามและตรวจสอบการจัดกิจกรรมต่างๆ ที่มีการบิดเบือนประวัติศาสตร์


คณะทำงานมีทั้งหมด 22 นาย เป็นทหาร 19 นาย และตำรวจ จำนวน 3 นาย ประกอบด้วย พล.ต.ไพศาล หนูสังข์ รองแม่ทัพภาคที่ 4 อดีต ผบ.ฉก.นราธิวาส เป็นหัวหน้าคณะทำงาน พล.ต.ต.ปิยวัฒน์ เฉลิมศรี รองผู้บัญชาการตำรวจภูธรภาค 9 พล.ต.วัชรวิชย์ ณรงค์พันธุ์ รอง ผอ.สขว.กอ.รมน.ภาค 4 สน. และ พ.อ.อัฑฒเศรษฐ์ เต็มมีศร รองเลขาธิการ กอ.รมน.ภาค 4 สน. ทำหน้าที่เป็นรองหัวหน้าคณะทำงาน

คณะทำงาน ได้แก่ พ.อ.ภาสกร บูรณวนิช พ.อ.คณิต คหบดีกนกกุล พ.ต.ภูวนาถ ศรีเจริญ พ.ต.ยงยุทธ์ สำเหร่ พ.อ.เฉลิมชัย สุทธินวล พ.อ.จิระยุส จันทน์อาภรณ์ พ.อ.อภิเศรษฐ์ คุณารักษ์ พ.อ.เจษฎา ปิยะสุวรรณ พ.ท.รังสรรค์ นนท์ธีระสวัสดิ์ พ.ท.ธนพล พละศิลปะ พ.อ.นราธิป จอง

ร.ต.อานุภาพ ศิรินิล พ.อ.ศรัญญู สังรี พ.อ.ประธาน ตลับทอง พ.ต.อ.อันธีร์ ต่ออารี พ.ต.ต.วงศ์กร ปริมวงศ์ และ พ.ท.หญิงมะลิ พันธ์น้อย ทำหน้าที่เป็นเลขานุการ พ.ต.ชัยยุทธ อินทนะ เป็นผู้ช่วยเลขานุการ

คณะทำงานทั้งหมดมีอำนาจหน้าที่ติดตามและตรวจสอบ ประสานการปฏิบัติกับหน่วยที่เกี่ยวข้อง เพื่อรวบรวมข้อมูลและประเด็นที่เข้าข่ายความผิด เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมาย กำหนดกรอบแนวทางการปฏิบัติและการใช้เครื่องมือให้ส่วนที่เกี่ยวข้องนำไปดำเนินการ ติดตามกำกับดูแลและประเมินผลการปฏิบัติของหน่วยที่เกี่ยวข้องให้เป็นไปตามแนวทางที่กำหนดและคำแนะนำเพิ่มเติมจากผู้บังคับบัญชา

นอกจากนี้ ยังกำหนดมาตรการควบคุมให้มีการประชุมเดือนละ 1 ครั้ง ทุกสัปดาห์ที่ 3 ของเดือน โดยให้คณะทำงานต้องประชุมเตรียมข้อมูล 1 วันก่อนประชุม รายงานผลให้ ผอ.รมน.ภาค 4 ทราบทุกเดือน และสรุปผลการปฏิบัติตามวงรอบ 1 เดือน 3 เดือน 6 เดือน และ 1 ปี

ก่อนหน้านี้ ในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ได้มีการ์ดเกม ที่ชื่อว่า “Patani Colonial Territory” มีการนำเนื้อหาเกี่ยวกับประวัติศาสตร์บาดแผลของคนสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หรือที่เรียกว่า “คนปัตตานี” หรือ “คนปาตานี” มาใส่ในการ์ดเกม โดยมีเรื่องที่ กอ.รมน.ภาค 4 ออกมาตอบโต้ว่าไม่เป็นความจริง คือ การลงโทษเชลยศึกปัตตานี ด้วยการเจาะเอ็นร้อยหวาย


ไม่มีความคิดเห็น:

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]