น้ำมันหายไปไหน?! เอกชนขอนำเข้าดีเซลจากมาเลย์ 3.2 แสนลิตรอ้างส่งที่ลาว 30 วันแล้วยังไม่มา






กระบวนการยุติธรรม - ศุลกากรสะเดาเรียกเจ้าของบริษัทรับทราบข้อกล่าวหาในความผิด พรบ.ศุลกากร แจ้งระงับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร พร้อมสั่งอายัดรถบรรทุกน้ำมัน 8 คัน หลังบริษัทขอนำเข้าน้ำมัน 320,000 ลิตร จากมาเลเซียเพื่อนำไปขายที่ลาวผ่านด่านบึงกาฬ แต่กลับเงียบหายไม่ไปตามอ้าง คนวงในแฉเป็นหนึ่งในวิธีการขนน้ำมันเถื่อนมาขายในไทย ชี้ได้กำไรคันละ 4 แสนบาท

21 กุมภาพันธ์ 2566 - นายเผดิมเดช มั่งคั่ง นายด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา ได้มีหนังสือแจ้ง บริษัทแห่งหนึ่ง ที่มีสำนักงานตั้งอยู่ที่ ต.สำนักขาม อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นผู้ว่าจ้างให้รถบรรทุกพ่วงจำนวน 8 คันขนน้ำมันดีเซลจากประเทศมาเลเซีย คันละ 40,000 ลิตร รวม 320,000 ลิตร เพื่อไปส่งที่ สปป.ลาวผ่านด่านศุลกากรบึงกาฬ แต่เมื่อครบกำหนด 30 วันกลับไม่ได้ไปตามกล่าวอ้าง มารับทราบข้อกล่าวหาในความผิด พรบ.ศุลกากร แจ้งระงับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร โดยก่อนหน้านี้ได้ทำการอายัดรถบรรทุกพ่วง ที่ใช้ในการบรรทุกน้ำมันเชื้อเพลิง จำนวน 8 คันดังกล่าวไว้แล้ว

การสั่งดำเนินการในครั้งนี้ สืบเนื่องจากเมื่อวันที่ 20 มกราคม 2566 นายอุทัย ดวงสูงเนิน นายด่านศุลกากร จ.บึงกาฬ ได้มีหนังสือแจ้งมายังนายด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลาว่า ตามที่นายด่านศุลกากร จ.บึงกาฬ ได้รับแจ้งจากนายด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา ถึงเรื่องที่บริษัทดังกล่าวได้ขอเคลื่อนย้ายสินค้าผ่านแดน จำนวน 8 ฉบับ ซึ่งเป็นการนำน้ำมันดีเซลจากประเทศมาเลเซียรวม 320,000 ลิตร เพื่อไปส่งยังประเทศ สปป.ลาวตามใบขนสินค้าผ่านแดน เลขที่ A 003 26532 00097 ถึง A 013 26512 00269 จำนวน 8 ฉบับ เพื่อผ่านด่านศุลกากร จ.บึงกาฬไปยัง สปป.ลาวนั้น

“ยังไม่มีการสำแดงจากบริษัทแต่อย่างใด และครบกำหนด 30 วัน ตามกำหนดของ พรบ.ศุลกากร ที่เกี่ยวกับสินค้าผ่านแดน หรือการทรานส์ซิสเส้นทางแล้ว จึงขอให้ศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา ดำเนินการตาม พรบ.ศุลกากรต่อไป”

หลังจากที่นายด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา ได้รับเอกสารจากนายด่านศุลกากร จ.บึงกาฬ จึงได้ส่งจดหมายแจ้งให้เจ้าของบริษัทดังกล่าวให้รับทราบข้อหาระดับการปฏิบัติพิธีการศุลกากรแบบไร้เอกสาร และใช้เวลาในการติดตามยึดรถบรรทุกน้ำมัน ที่เป็นรถพ่วง มีการบรรทุกน้ำมันได้คันละ 40,000 ลิตร มาเป็นของกลาง ซึ่งหลังจากยึดมาพบว่า ไม่มีน้ำในรถทั้ง 8 คันแล้ว เพื่อรอให้ด่านศุลกากร จ.บึงกาฬ ดำเนินการตาม พรบ.ศุลกากรต่อไป



ผู้เชี่ยวชาญในวงการน้ำมันให้ข้อมูลว่า การดำเนินการดังกล่าวเข้าข่ายเป็นวิธีการหนึ่งของขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติ ที่ทำกันมานาน โดยมีการให้ผลประโยชน์กับเจ้าหน้าที่รัฐ ทั้งที่ต้นทางและที่ปลายทาง โดยการนำน้ำมันดีเซลจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีราคาขายส่งลิตรละ 14 บาท โดยแจ้งทำทัณฑ์บน หรือการขอ ”ทรานส์ซิส” เส้นทาง เพื่อส่งขายยังประเทศ สปป.ลาว แต่ได้นำน้ำมันทั้งหมดขายในประเทศไทยแทน เป็นน้ำมันเถื่อนในราคาลิตรละ 25 บาท ในขณะที่น้ำมันดีเซลในประเทศไทยมีราคาลิตรละ 35 บาท จะทำให้ได้กำไรลิตรละ 10 บาท

“รถบรรทุกน้ำมัน 1 คันบรรทุกได้ 40,000 ลิตร 1 คันก็จะได้กำไร 400,000 บาท หลังจากที่ขายน้ำมันให้ลูกค้าแล้ว ก็จะนำรถเปล่าวิ่งไปยังด่านศุลกากรปลายทาง เพื่อส่งเอกสารให้ประทับตราว่า มีการส่งออกไป สปป.ลาวจริงเป็นที่เรียบร้อยแล้ว โดยจะมีภาพจากกล้องวงจรปิดในการผ่านด่านเข้า สปป.ลาวเป็นหลักฐาน โดยมีการจ่ายผลประโยชน์ให้เจ้าหน้าทีรัฐ 90,000 บาทต่อ 1 คันรถบรรทุก ซึ่งเรื่องการค้าน้ำมันเถื่อนข้ามชาติเป็นขบวนการ ที่ทำกันมานาน แต่ครั้งนี้ที่มีปัญหา แหล่งข่าวระบุว่า อาจจะมาจากความขัดแย้งในหมู่เจ้าหน้าที่”


นายเผดิมเดช มั่งคั่ง นายด่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา ซึ่งเป็นต้านทางในการออกเอกสารใบผ่านทางให้แก่บริษัท ปฏิเสธที่จะให้รายละเอียด กล่าวเพียงว่า เป็นหน้าที่ของศุลกากรบึงกาฬในการแจ้งความเอาผิดกับบริษัทที่ทำผิดข้อตกลง เพราะด่านศุลกากรบึงกาฬ เป็นผู้เสียหาย







ไม่มีความคิดเห็น:

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]