วิวัฒนาการ “ส่วยน้ำมันเถื่อน” จากชายแดนใต้สู่ภูมิภาคอื่น ยิ่งปราบยิ่งโตเงินหมุนเวียนนับแสนล้านบาท
รายงานพิเศษ โดย.. ไชยยงค์ มณีพิลึก
ผู้เขียนเคยเขียนถึงน้ำมันเถื่อนในภาคใต้ว่ามีเป็นเวลาหลายปี และประเด็นหนึ่งที่ผู้เขียนอ้างถึงเสมอมาคือ “ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน” ที่เรียกว่า “เชื้อชั่วไม่เคยตาย” นั่นก็เป็นเพราะเจ้าหน้าที่ ตั้งแต่ที่อยู่ในพื้นที่จนถึงส่วนกลาง ที่นั่งอยู่ในกรม ในกระทรวง เป็นผู้ที่มีส่วนในการเรียกรับประโยชน์ จากขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนทั้งหมดในประเทศไทย แต่ได้รับการ “ปฏิเสธ” จากหน่วยงานของรัฐ ไม่ว่าจะเป็นตำรวจ ศุลกากร สรรพสามิต และ ตร.ปนม. หรือตำรวจชุดปรามปรามน้ำมันเถื่อนมาโดยตลอดว่า “ไม่มีและไม่จริง”
แต่เชื่อเถอะ ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย เพราะเคสการจับกุมน้ำมันเถื่อน โดยตำรวจทางหลวงในพื้นที่จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ที่เกิดขึ้นเมื่อไม่กี่วันก่อน เป็นการจับและยึดรถบรรทุกน้ำมันจำนวน 15,000 ลิตร โดยเจ้าหน้าที่ตรวจพบว่าเป็นน้ำมันเถื่อนจากประเทศมาเลเซีย ที่เอกสารกำกับสินค้าและเอกสารควบคุมการขนส่งไม่ถูกต้อง และจากการนำน้ำมันไปพิสูจน์ก็พบว่าเป็น “น้ำมันเถื่อน”
ในการจับกุมครั้งนั้น มีเจ้าหน้าที่ระดับสูงจากกรมสรรพสามิต ที่อ้างชื่อว่าเป็น “รองยุทธ” โทรศัพท์เข้ามาขอเคลียร์กับเจ้าหน้าที่ชุดจับกุม เพื่อให้ปล่อยรถบรรทุกน้ำมันเถื่อนคันดังกล่าว แต่เจ้าหน้าที่ปล่อยไม่ได้ เพราะในการจับกุมครั้งนี้เป็นการบูรณาการของหลายหน่วยงาน ไม่ใช่การจับกุมของสรรพสามิต ตำรวจ หรือศุลกากร หน่วยใดหน่วยหนึ่ง
นี่เป็นหลักฐาน ที่แสดงให้เห็นว่า “รองยุทธ” เป็นเจ้าหน้าที่ระดับสูงใน “กรมสรรพสามิต” กระทรวงการคลัง
ที่อยู่เบื้องหลังการค้าน้ำมันเถื่อน ในภาคใต้และในประเทศไทย โดยทำหน้าที่ในการเคลียร์เส้นทาง ถ้ามีการจับกุมเกิดขึ้นกับกลุ่มค้าน้ำมันเถื่อน ที่อยู่ในความดูแลของ “รองยุทธ” ซึ่งวันนี้มีการสอบสวนจากกรมสรรพสามิต และพบว่า “รองยุทธ” มีตัวตนมีตำแหน่ง “ผู้อำนวยการฝ่ายป้องกันปราบปรามฯ ในกรมสรรพสามิต” และถูกสั่งพักราชการ เพื่อรอการดำเนินการตามกฎหมาย
ข้อเท็จจริงเรื่องน้ำมันเถื่อน ณ วันนี้ ไม่ได้มีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนอยู่แค่ในภาคใต้อย่างที่เข้าใจกัน แต่ขบวนการน้ำมันเถื่อนมีการทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เป็นขบวนการที่มีเงินหมุนวันเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาทในแต่ละเดือน
ข้อเท็จจริงเรื่องน้ำมันเถื่อน ณ วันนี้ ไม่ได้มีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนอยู่แค่ในภาคใต้อย่างที่เข้าใจกัน แต่ขบวนการน้ำมันเถื่อนมีการทำกันอย่างเป็นล่ำเป็นสัน เป็นขบวนการที่มีเงินหมุนวันเป็นหมื่นเป็นแสนล้านบาทในแต่ละเดือน
ตั้งแต่ปากน้ำประแส จ.ระยอง มายัง จ.สมุทรปราการ ลัดเลาะชายฝั่ง “อ่าวไทย” ตั้งแต่ จ.เพชรบุรี ประจวบฯ ชุมพร สุราษฎร์ธานี นครศรีธรรมราช สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ล้วนแต่เป็นพื้นที่การค้าน้ำมันเถื่อนของประเทศไทย ที่ “ยิ่งปราบยิ่งโต” และมีเม็ดเงินในการ “จ่ายส่วย” อย่างมหาศาล โดยมีหน่วยงานของรัฐเข้าไปรับส่วยถึง 35 หน่วยด้วยกัน โดยเฉพาะ 3 หน่วยงานหลักคือ ตำรวจ สรรพสามิต และศุลกากร ที่มีหน้าที่รับผิดชอบโดยตรงกับการปราบปราม จับกุม ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อน
วันนี้ แบ่งขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนออกมาได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มภาคตะวันออก 2.กลุ่มภาคกลาง 3.กลุ่มภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย และ 4.กลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังแยกย่อยเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันทางทะเล 2.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันเขียว (ประมง ) และ 3.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันทางบก นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เส้นทางชายแดน จ.สงขลา จ.สตูล และ จ.นราธิวาส
ในเส้นทางบก ยังแยกย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ใช้รถบรรทุกหัวลาก ที่วิ่งบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ 2.กลุ่มรถยนต์ รถกระบะดัดแปลง รถเก๋งดัดแปลง และ 3.กลุ่มที่นำเข้าโดยถูกต้อง โดยอ้างขอผ่านทางภายในประเทศไทย เพื่อไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา แต่นำน้ำมันมาขายในประเทศไทย ฟันกำไรส่วนต่าง โดยไม่ได้มีการส่งออกจริง
กลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนทางทะเล ตั้งแต่ “ปากน้ำประแส” จ.ระยอง จนถึง จ.สงขลา มีรายชื่อที่เป็น “รายใหญ่ๆ” ที่ตำรวจ ศุลกากร และสรรพสามิต ต่างมีบัญชีอยู่ในมือ ได้แก่ เสี่ยยุทธ มหาชัย เสี่ยโป้ง ปากน้ำสมุทรปราการ เสี่ยชัย ขนอม เสี่ยเอก ท่าศาลา เสี่ยเอก ท่าฉาง กำนันศักดิ์ ปากน้ำกระแดะ เสี่ยสมชาย หัวเขาแดง สงขลา เสี่ยดำ ภาคใต้ สงขลา เสี่ยพนม สงขลา เสี่ยเอี้ยง น้ำมันกลางทะเล คลังน้ำมันที่ สุราษฎร์ธานี โกชัย ขนอม โกหวัด ท่าศาลา นายหัวรงค์ สวนผัก จุฬาภรณ์ นครศรีธรรมราช เสี่ยเจมส์ คลังน้ำมันเถื่อนกลางทะเล ที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดในภาคใต้
และยังมีบรรดา เจ๊ๆ เช่น เจ๊ฟาง เจ๊บีม และอีกสารพัดเจ๊ ที่เป็น “เถ้าแก่เนี้ย” ในวงการค้าน้ำมันเถื่อนทางบก ในการจัดหาน้ำมันให้เสี่ยยุทธ์ เสี่ยโก้ เสี่ยธนากร แห่ง จ.ราชบุรี และ สระบุรี ที่เป็นผู้ค้าน้ำมันทางบกรายใหญ่ ที่มีคอกน้ำมันใน จ.สงขลา
ในอดีต เส้นทางน้ำมันเถื่อนที่รู้จักกันดี คือ น้ำมันทางทะเล ที่ “เรือแท็งค์” จะลอยลำ เพื่อรอเรือประมงดัดแปลงไปขนถ่ายน้ำมันขึ้นบก ส่วนการค้าน้ำมันเถื่อนทางบกก็ไม่มีความซับซ้อน โดยจะมีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนนำน้ำมันเถื่อนจากโกดังในฝั่งมาเลเซียด้วยรถกระบะและรถเก๋งดัดแปลง เข้ามาในอำเภอชายแดน เช่น สะเดา คลองหอยโข่ง หาดใหญ่ จ. สงขลา ซึ่งนายทุนจะทำคอกน้ำมันเถื่อนเพื่อรับซื้อและส่งต่อให้รถบรรทุกน้ำมันขนาด 16,000–40,000 ลิตร ที่มาจากต่างจังหวัดและจังหวัดในภาคกลางไปส่งขายในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นพื้นที่การใช้น้ำมัน ทั้งในกิจกรรมขนส่งและการเกษตร และมีปั๊มอิสระมากที่สุดในประเทศไทย
แต่ปัจจุบัน ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนทางบกได้วิวัฒนาการเพิ่มขึ้น ด้วยการซื้อน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมายจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีราคาถูกกว่าประเทศไทย ลิตรละ 16-17 บาท ทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซิน โดยทำเอกสารผ่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อขอ “ทรานส์ซิสเส้นทาง” (ผ่านประเทศ) เพื่อไปส่งให้ลูกค้าที่ประเทศ สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา เป็นต้น
แต่โดยข้อเท็จจริง น้ำมันที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขอ “ทรานส์ซิสเส้นทาง” จากประเทศไทยไปยังประเทศที่ 3 ไม่ได้ไปจริง แต่มีการนำน้ำมันไปขายยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ ซึ่งใกล้กับชายแดนเมียนมา กัมพูชา และ สปป.ลาว หลังจากการขายน้ำมันก็มีการส่งเอกสารให้ “ศุลกากร” เพื่อทำตามขั้นตอนว่ามีการส่งออกจริง ซึ่ง แหล่งข่าวในขบวนการน้ำมันข้ามชาติให้ข้อมูลว่า มีการจ่ายส่วยคันละ 90,000 บาทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ “แหกตา” แต่ละครั้ง
และอีกช่องทางหนึ่งของการค้าน้ำมันเถื่อนจากการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย คือ การ “สำแดงเท็จ” ต่อศุลกากรในการนำเข้า ด้วยการนำน้ำมันดีเซลที่ถูกต้องและมีคุณภาพ ยูโรโฟร์ ผสม “คาร์บอน” เพื่อให้น้ำมันเปลี่ยนสีเป็นสีดำ และนำเข้าโดยสำแดงเท็จว่าเป็นน้ำมันที่เสียหรือคุณภาพต่ำ เป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในราคาลิตรละ 3-5 บาท เพื่อให้เสียภาษีนำเข้าน้อยลง
วันนี้ แบ่งขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนออกมาได้ 4 กลุ่มใหญ่ คือ 1.กลุ่มภาคตะวันออก 2.กลุ่มภาคกลาง 3.กลุ่มภาคใต้ ฝั่งอ่าวไทย และ 4.กลุ่ม 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ และยังแยกย่อยเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันทางทะเล 2.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันเขียว (ประมง ) และ 3.กลุ่มผู้ค้าน้ำมันทางบก นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย เส้นทางชายแดน จ.สงขลา จ.สตูล และ จ.นราธิวาส
ในเส้นทางบก ยังแยกย่อยออกเป็น 3 กลุ่ม คือ 1.กลุ่มที่ใช้รถบรรทุกหัวลาก ที่วิ่งบรรทุกสินค้าระหว่างประเทศ 2.กลุ่มรถยนต์ รถกระบะดัดแปลง รถเก๋งดัดแปลง และ 3.กลุ่มที่นำเข้าโดยถูกต้อง โดยอ้างขอผ่านทางภายในประเทศไทย เพื่อไปจำหน่ายยังประเทศเพื่อนบ้าน เช่น สปป.ลาว กัมพูชา และเมียนมา แต่นำน้ำมันมาขายในประเทศไทย ฟันกำไรส่วนต่าง โดยไม่ได้มีการส่งออกจริง
กลุ่มผู้ค้าน้ำมันเถื่อนทางทะเล ตั้งแต่ “ปากน้ำประแส” จ.ระยอง จนถึง จ.สงขลา มีรายชื่อที่เป็น “รายใหญ่ๆ” ที่ตำรวจ ศุลกากร และสรรพสามิต ต่างมีบัญชีอยู่ในมือ ได้แก่ เสี่ยยุทธ มหาชัย เสี่ยโป้ง ปากน้ำสมุทรปราการ เสี่ยชัย ขนอม เสี่ยเอก ท่าศาลา เสี่ยเอก ท่าฉาง กำนันศักดิ์ ปากน้ำกระแดะ เสี่ยสมชาย หัวเขาแดง สงขลา เสี่ยดำ ภาคใต้ สงขลา เสี่ยพนม สงขลา เสี่ยเอี้ยง น้ำมันกลางทะเล คลังน้ำมันที่ สุราษฎร์ธานี โกชัย ขนอม โกหวัด ท่าศาลา นายหัวรงค์ สวนผัก จุฬาภรณ์ นครศรีธรรมราช เสี่ยเจมส์ คลังน้ำมันเถื่อนกลางทะเล ที่เป็นผู้ค้ารายใหญ่ที่สุดในภาคใต้
และยังมีบรรดา เจ๊ๆ เช่น เจ๊ฟาง เจ๊บีม และอีกสารพัดเจ๊ ที่เป็น “เถ้าแก่เนี้ย” ในวงการค้าน้ำมันเถื่อนทางบก ในการจัดหาน้ำมันให้เสี่ยยุทธ์ เสี่ยโก้ เสี่ยธนากร แห่ง จ.ราชบุรี และ สระบุรี ที่เป็นผู้ค้าน้ำมันทางบกรายใหญ่ ที่มีคอกน้ำมันใน จ.สงขลา
ในอดีต เส้นทางน้ำมันเถื่อนที่รู้จักกันดี คือ น้ำมันทางทะเล ที่ “เรือแท็งค์” จะลอยลำ เพื่อรอเรือประมงดัดแปลงไปขนถ่ายน้ำมันขึ้นบก ส่วนการค้าน้ำมันเถื่อนทางบกก็ไม่มีความซับซ้อน โดยจะมีขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนนำน้ำมันเถื่อนจากโกดังในฝั่งมาเลเซียด้วยรถกระบะและรถเก๋งดัดแปลง เข้ามาในอำเภอชายแดน เช่น สะเดา คลองหอยโข่ง หาดใหญ่ จ. สงขลา ซึ่งนายทุนจะทำคอกน้ำมันเถื่อนเพื่อรับซื้อและส่งต่อให้รถบรรทุกน้ำมันขนาด 16,000–40,000 ลิตร ที่มาจากต่างจังหวัดและจังหวัดในภาคกลางไปส่งขายในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่เป็นพื้นที่การใช้น้ำมัน ทั้งในกิจกรรมขนส่งและการเกษตร และมีปั๊มอิสระมากที่สุดในประเทศไทย
แต่ปัจจุบัน ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนทางบกได้วิวัฒนาการเพิ่มขึ้น ด้วยการซื้อน้ำมันที่ถูกต้องตามกฎหมายจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งมีราคาถูกกว่าประเทศไทย ลิตรละ 16-17 บาท ทั้งน้ำมันดีเซลและเบนซิน โดยทำเอกสารผ่านศุลกากร อ.สะเดา จ.สงขลา เพื่อขอ “ทรานส์ซิสเส้นทาง” (ผ่านประเทศ) เพื่อไปส่งให้ลูกค้าที่ประเทศ สปป.ลาว เมียนมา และกัมพูชา เป็นต้น
แต่โดยข้อเท็จจริง น้ำมันที่นำเข้าจากประเทศมาเลเซีย ซึ่งขอ “ทรานส์ซิสเส้นทาง” จากประเทศไทยไปยังประเทศที่ 3 ไม่ได้ไปจริง แต่มีการนำน้ำมันไปขายยังพื้นที่ต่างๆ ของประเทศไทย โดยเฉพาะพื้นที่ ซึ่งใกล้กับชายแดนเมียนมา กัมพูชา และ สปป.ลาว หลังจากการขายน้ำมันก็มีการส่งเอกสารให้ “ศุลกากร” เพื่อทำตามขั้นตอนว่ามีการส่งออกจริง ซึ่ง แหล่งข่าวในขบวนการน้ำมันข้ามชาติให้ข้อมูลว่า มีการจ่ายส่วยคันละ 90,000 บาทให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการ “แหกตา” แต่ละครั้ง
และอีกช่องทางหนึ่งของการค้าน้ำมันเถื่อนจากการนำเข้าจากประเทศมาเลเซีย คือ การ “สำแดงเท็จ” ต่อศุลกากรในการนำเข้า ด้วยการนำน้ำมันดีเซลที่ถูกต้องและมีคุณภาพ ยูโรโฟร์ ผสม “คาร์บอน” เพื่อให้น้ำมันเปลี่ยนสีเป็นสีดำ และนำเข้าโดยสำแดงเท็จว่าเป็นน้ำมันที่เสียหรือคุณภาพต่ำ เป็นการนำเข้าเพื่อใช้ในอุตสาหกรรมอื่นๆ ในราคาลิตรละ 3-5 บาท เพื่อให้เสียภาษีนำเข้าน้อยลง
หลังจากที่นำเข้ามายังประเทศไทยแล้วก็รอให้คาร์บอนตกตะกอน และมีการนำสารเคมีผสมในน้ำมัน เพื่อให้กลับคืนสู่สภาพเดิม และส่งขายให้ลูกค้า เช่นเดียวกับเคสที่ตำรวจทางหลวงจับกุมได้ที่ จ.ประจวบคีรีขันธ์ ซึ่งรถบรรทุกคันดังกล่าว บรรทุกน้ำมันได้ 30,000 ลิตร แต่เจ้าหน้าที่จับกุมได้เพียง 15,000 ลิตร แสดงให้เห็นว่า ก่อนหน้าจะถูกจับกุมมีการขายน้ำมันไปแล้ว 15,000 ลิตร เพราะถ้าใช้รถบรรทุกหัวลาก 30,000 ลิตร บรรทุกน้ำมัน 15,000 ลิตร เป็นเรื่องที่ขาดทุน ไม่มีใครเขาทำกัน
นอกจากนั้น ยังมีขบวนการลักลอบนำ “น้ำมันเขียว” หรือน้ำมันดีเซลที่รัฐบาลจัดสรรโควตาให้กรมประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงพาณิชย์นาวีให้ใช้น้ำมันที่มีราคาถูก เป็นน้ำมันที่มี “สีเขียว” เพื่อให้แตกต่างกับน้ำมีนดีเซล ที่ขายอยู่บนบกโดยไม่มี “มาร์กเกอร์” หรือส่วนผสมของไบโอดีเซล เพื่อให้มีราคาถูก แต่ปรากฏว่า มีการร่วมมือกัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐ สมาคมประมง และเรือประมง ในการนำน้ำมันเขียวขึ้นฝั่งขายให้โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปั๊มอิสระในพื้นที่ของ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลที่มีผู้ประกอบอาชีพประมง
นอกจากนั้น ยังมีขบวนการลักลอบนำ “น้ำมันเขียว” หรือน้ำมันดีเซลที่รัฐบาลจัดสรรโควตาให้กรมประมง เพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการประมงพาณิชย์นาวีให้ใช้น้ำมันที่มีราคาถูก เป็นน้ำมันที่มี “สีเขียว” เพื่อให้แตกต่างกับน้ำมีนดีเซล ที่ขายอยู่บนบกโดยไม่มี “มาร์กเกอร์” หรือส่วนผสมของไบโอดีเซล เพื่อให้มีราคาถูก แต่ปรากฏว่า มีการร่วมมือกัน ระหว่างหน่วยงานของรัฐ สมาคมประมง และเรือประมง ในการนำน้ำมันเขียวขึ้นฝั่งขายให้โรงงานอุตสาหกรรม โดยเฉพาะปั๊มอิสระในพื้นที่ของ จ.นครศรีธรรมราช สุราษฎร์ธานี และจังหวัดที่มีชายฝั่งทะเลที่มีผู้ประกอบอาชีพประมง
ที่ชัดเจน คือ ปั๊มน้ำมันใน อ.จุฬาภรณ์ จ.นครศรีธรรมราช แห่งหนึ่ง ที่เป็นปั้มใหญ่ แต่ขายน้ำมันดีเซลในราคาที่ถูกกว่าปั๊มทั่วไปลิตรละ 3 บาท คือขายในราคา ลิตรละ 29 บาท ในขณะที่ราคาของปั๊มทั่วไปขายที่ 32.50 บาท เป็นต้น แต่แปลกที่เจ้าหน้าที่ ทั้งตำรวจ ปนม. พลังงาน สรรพสามิต ไม่เคยตั้งข้อสงสัยและทำการตรวจสอบที่มาของน้ำมันแต่อย่างใด
เหตุผลเดียวที่หน่วยงานผู้เกี่ยวข้อง ซึ่งมีหน้าที่ในการปราบปรามจับกุมน้ำมันเถื่อน ไม่มีการทำหน้าที่ในการป้องกันปราบปรามอย่างเด็ดขาด เป็นเพราะขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนทุกขบวนการมีการจัดสรรผลประโยชน์ให้อย่างลงตัว ซึ่งหากดูตามบัญชีรายชื่อของ หน่วยงาน ที่มีผู้ทำหน้าที่ “หัวเบี้ย” ในการเก็บส่วยจากขบวนการผู้ค้าน้ำมันเถื่อน จะเห็นว่ามีถึง 35 หน่วยงาน ที่ถือบัญชีรายชื่อของผู้จ่ายส่วยในมือ และเรียกเก็บเป็นรายเดือน ซึ่งปฏิเสธไม่ได้ว่า มีตัวแทนของหน่วยงานเหล่านี้ทำหน้าที่รับส่วย ส่วนจะมีการส่งส่วยให้ใครบ้างก็มีหลักฐานที่ปรากฏชัด แต่ไม่เคยมีการดำเนินการกับเจ้าหน้าที่รัฐ
ยกตัวอย่างเรียกน้ำย่อย ในบัญชีผู้เก็บส่วย เช่น ปนม.ภ.9 พี่บอย ศปจร.ภ.9 พี่รูน เศรษฐกิจสืบ 1 พี่สิงห์ สืบท่องเที่ยวภาค 9 ผู้กองวุฒิ ตชด. พี่เอส ชุดอิทธิพล ดาบดอน ปคม.พี่หมู ตำรวจน้ำ จ่าน้อง ด่านทักษิณ พี่อาธร กอง 7 พี่มล อย่างนี้เป็นต้น และข่าวล่าสุด หลังจากมีข่าวอื้อฉาวในเรื่องของส่วยทางหลวงและส่วยน้ำมันเถื่อน ที่มีการสั่งพักราชการ “รองยุทธ” ที่อยู่ในกรมสรรพสามิต ส่วยน้ำมันเถื่อนของภาคใต้ ที่เป็นของตำรวจส่วนกลางในใบสั่งให้ “สารวัตร ว.แหวน” เป็นผู้จัดการในการเก็บส่วยให้ส่วนกลางเพียงคนเดียว เพื่อป้องกันความอื้อฉาว โดยให้ “สารวัตร ว.แหวน” เป็นผู้จัดการเพียงผู้เดียวทั้งภาค 8 และภาค 9 เห็นหรือไม่ว่า ไม่ว่าสถานการณ์จะเป็นอย่างไร ตำรวจเป็นหน่วยงานที่พลิกแพลงในการเก็บส่วยอยู่ตลอดเวลา
ยกตัวอย่างในการตรวจค้นของเจ้าหน้าที่ และยึดได้ “บัญชีส่วยหลายครั้ง” จากผู้ทำความผิด ซึ่งมีอยู่ครั้งหนึ่ง ที่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ชุดภัยแทรกซ้อน เข้าจับกุม “เสี่ยโจ้” ราชาน้ำมันเถื่อนภาคใต้ ที่โรงงานใน จ.ปัตตานี ยึดหลักฐานการจ่ายส่วย ที่ชัดเจนที่สุด มี ชื่อ ยศ ตำแหน่ง มีชื่อ “หลังบ้าน” มีหมายเลขบัญชี และชื่อธนาคาร และจำนวนตัวเลขกลมๆ ในการโอนเงิน ที่มีผู้รับ-ผู้ให้ ตั้งแต่ “ผู้การ” ลงมาจนถึง “นายดาบ” มีหน่วยงาน ทั้งตำรวจ ปนม ,ภูธร ,ทางหลวง, ตำรวจน้ำ, ศุลกากร, สรรพสามิต ฯลฯ แต่ไม่เคยมีการนำบัญชีส่วยเข้าสู่ขบวนการสืบสวนสอบสวนหาข้อเท็จจริง เพื่อดำเนินคดีกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีชื่อในการรับส่วยแต่อย่างใด
และเพราะเหตุนี้แหละ ที่ทำให้ “ส่วยน้ำมันเถื่อน” ยังอยู่ยงคงกระพัน ไม่เคยตายจาก และเป็นส่วนในการส่งเสริมให้ขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนเติบโตยิ่งขึ้น ก็ในเมื่อแม้แต่ กอ.รมน.ภาค 4 ส่วนหน้า ที่เป็นหน่วยงานของทหาร ที่รับผิดชอบความมั่นคง ยังไม่กล้าที่จะดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ ผู้มีรายชื่อในการรับส่วย แล้วจะไปคาดหวังกับสำนักงานตำรวจแห่งชาติได้อย่างไร ในเมื่อผู้ที่มีรายชื่อในบัญชีส่วยทุกครั้ง ร้อยละ 80 เป็น “ตำรวจ” ส่วนที่เหลือเป็นศุลกากร สรรพสามิต และอื่นๆ
ดังนั้น เรื่องน้ำมันเถื่อนในทุกรูปแบบกับเรื่องการจ่ายส่วย แม้จะไม่ใช่ปัญหา “โลกแตก” แต่การแก้ปัญหาไม่ง่าย เพราะเป็นผลประโยชน์มหาศาลที่ฝังรากลึกในหน่วยงานราชการ ทุกหน่วย ซึ่งการแก้ปัญหาสำเร็จหรือไม่อยู่ที่รัฐบาลจะจริงใจและเอาจริงในการแก้ปัญหาหรือไม่ แต่ที่ผ่านมา รัฐบาลทุกรัฐบาล แก้ปัญหาแบบไฟไหม้ฟาง มีข่าวเมื่อไหร่ก็ลุกรี้ลุกลนในการแก้ปัญหาด้วยการ “หาแพะมาบูชายัญ” แล้วทุกอย่างก็จบ ขบวนการผู้ค้าและขบวนการส่วยก็ดำเนินต่อไปเป็นปกติ
ก็หวังว่า ถ้า “พรรคก้าวไกล” ได้เป็นรัฐบาล จะได้เห็นการจัดการกับเรื่องของส่วยอย่างจริงจัง อย่างที่ “วิโรจน์ ลักขณาอดิศร” และ “รังสิมันต์ โรม” สองตัวตึง ที่ทำการเปิดโปงเรื่องของส่วยทางหลวง เรื่องของตั๋วช้าง ในขณะที่เป็น ส.ส.ฝ่ายค้าน ก็หวังว่าหลังจากได้อำนาจ มีตำแหน่งในรัฐบาลชุดใหม่ พฤติกรรมจะไม่เปลี่ยน เพราะที่เห็นมา หลายรัฐบาลและหลาย ส.ส.ปากกล้า ที่หลังจากเป็นรัฐบาล พฤติกรรมก็จะเปลี่ยนไป
เชียร์นะ ที่จะให้ “ก้าวไกล” เป็นรัฐบาล เพราะอยากเห็นการกวาดล้างขบวนการทุจริต ทั้งในสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ,ศุลกากร ,สรรพสามิตร และอื่นๆ ที่เรียกรับส่วยจากขบวนการน้ำมันเถื่อนและน้ำมันข้ามชาติ
เชื่อเถอะ “เชื้อชั่ว” ในขบวนการค้าน้ำมันเถื่อนตายแน่นอน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐเลิกรับส่วย และทำหน้าที่ป้องกันปราบปรามตามหน้าที่
ไม่มีความคิดเห็น: