ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

รายงานพิเศษ

[๐ รายงานพิเศษ][bsummary]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]

ศอ.บต.เข้าพบ รมต.คมนาคมมาเลย์จับมือพัฒนาชายแดนฟื้นเศรษฐกิจ 2 ประเทศ





ชายแดนใต้: ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ บต.นำคณะเข้าพบรัฐมนตรีคมนาคม มาเลเซีย ยืนยัน พร้อมจับมือฟื้นฟูเศรษฐกิจ 2 ประเทศให้กลับมาดีขึ้น หลังได้รับผลกระทบจากพิษโควิด-19 ทั้งการสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกเพิ่ม สะพานข้ามแม่น้ำบางนารา ถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิจกายูฮิตัม

13 กันยายน 2565 - นายอำนวย ศรีระแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้(ศอ.บต.) พร้อมด้วยคุณดาวิน หยาง ประธานสมาคมจีนในอาเซียน และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้อง เดินทางเข้าพบ YB Datuk Seri lr. Dr Wee Ka Siong รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคมและประธานองค์กรแนวร่วมแห่งชาติมาเลเซีย โดยมีคณะผู้บริหารกระทรวงคมนาคม ร่วมให้การต้อนรับ ณ ที่ทำการกระทรวงคมนาคม กรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย

สำหรับประเด็นการหารือในครั้งนี้ ศอ.บต.ได้นำเสนอแนวทางความร่วมมือที่จะขับเคลื่อน ทั้งโครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลก ณ อำเภอสุไหงโก-ลก (สุไหงโกลก-รันเตาปันยัน) แห่งที่ 2 เป็น Flagship Project ของคณะทำงานด้านการเชื่อมโยงการคมนาคมขนส่งภายใต้แผน IMT GT ที่ได้มีการออกแบบสำรวจ เพื่อก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกอีก 1 แห่งคู่ขนานกับสะพานเดิม และเตรียมการประชุมครั้งที่ 3 ร่วมกับคณะทำงานด้านเทคนิคไทย-มาเลเซียในห้วงธันวาคม 2565 นี้



โครงการก่อสร้างสะพานข้ามแม่น้ำโกลกที่อำเภอตากใบจังหวัดนราธิวาส - เปิงกาลังกุโบร์ มาเลเซีย เป็นโครงการภายใต้ข้อตกลง IMT GT แนวเส้นทางโครงการมีจุดเริ่มต้นที่สามแยกตากใบบ้านหัวถนน ซึ่งเป็นสามแยกจุดตัดฝั่งประเทศไทยสิ้นสุดที่ทางหลวงหมายเลขดี 134 ประเทศมาเลเซียร ะยะทางประมาณ 11 กิโลเมตร ออกแบบเป็นถนน 4-6 ช่อง ถนนบริเวณพื้นที่เกาะสะท้อนเป็นโครงสร้างสะพานยกระดับมีสะพานข้ามแม่น้ำ 2 แห่งคือสะพานข้ามแม่น้ำบางนราและสะพานข้ามแม่น้ำโกลก อาคารศุลกากรและตรวจคนเข้าเมืองอยู่จุดเดียวกันที่บริเวณเกาะสะท้อนเป็นอาคารระดับดิน ซึ่งฝ่ายไทยดำเนินการออกแบบรายละเอียดและส่งมอบให้ฝ่ายมาเลย์แล้วเมื่อปี 2559 ไปแล้วและขณะนี้อยู่ในขั้นตอนของการพิจารณา โครงการก่อสร้างถนนเชื่อมต่อด่านศุลกากรสะเดาแห่งใหม่กับด่านบูกิจกายูฮิตัมของประเทศมาเลเซีย

โครงการยกระดับการพัฒนาพื้นที่ต้นแบบอำเภอเบตง จังหวัดยะลา "amazing jungle tail" ที่ได้มีการดำเนินการไปแล้วระหว่างวันที่ 6-8 พฤษภาคม 2565 ที่ผ่านมา ถือเป็นความสำเร็จที่เกิดผลอย่างเป็นรูปธรรม ในการส่งเสริมด้านการท่องเที่ยวโดยนำกีฬามาเป็นกลไกขับเคลื่อนจนทำให้ได้รับความสนใจจากนักท่องเที่ยวทั้งในและนอกพื้นที่ รวมถึงต่างประเทศทั่วโลกกว่า 14 ประเทศ สร้างกระแสเงินหมุนเวียนสะพัดกว่า 140 ล้านบาท อีกทั้งจากการดำเนินโครงการดังกล่าวส่งผลทำให้ผ่านการรับรองมาตรฐานจาก UTMB และได้รับการบรรจุให้เป็นสนามการแข่งขันมาตรฐานระดับโลกหรือ UTMB World Series สนามวิ่งเทรลแห่งที่ 2 ของประเทศไทย อีกทั้งยังได้กำหนดให้มีการจัดการแข่งขันในครั้งต่อไปห้วงเดือนกุมภาพันธ์ 2566 นี้ด้วย

อีกทั้งความร่วมมือในการพัฒนาและยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนทั้ง 2 ประเทศภายใต้กรอบ 3 E ได้แก่ การเชื่อมโยงระบบขนส่ง ทั้งทางบก ทางเรือ และทางอากาศ ด้านการศึกษาของนักศึกษาในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้สนับสนุนให้มีทุนการศึกษาที่ดี และการจ้างงานโดยเฉพาะคนไทยที่ตกงานซึ่งมีมากกว่า 40,000 คน นอกจากนี้ด้านการค้าการลงทุนโดยเฉพาะยางพาราและทุเรียนเพื่อเพิ่มช่องทางการจัดจำหน่ายให้กว้างมากขึ้น



นายอำนวย ศรีระแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า จากสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 ก่อให้เกิดกระทบเป็นวงกว้าง โดยเฉพาะปัจจัยของความร่วมมือ ครั้งนี้ถือเป็นโอกาสที่ดีที่ทั้งสองประเทศจะได้ฟื้นความสัมพันธ์ให้กลับมาแน่นแฟ้นยิ่งขึ้น ทั้งยังเป็นการร่วมกันหาแนวทางการพัฒนาและกำหนดทิศทางความร่วมมือในด้านเศรษฐกิจและสังคม เพื่อประโยชน์ของประชาชนพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้

ขณะที่ YB Datuk Seri lr. Dr Wee Ka Siong รัฐมนตรีกระทรวงคมนาคม กล่าวขอบคุณรัฐบาลไทยที่ได้เดินทางมาเยี่ยมเยียน ซึ่งความร่วมมือในโครงการต่างๆ ที่ ศอ.บต.ได้นำเสนอมานั้น ถือเป็นเรื่องที่ดีในนามรัฐบาลพร้อมที่จะร่วมมือกันขับเคลื่อนเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจของทั้ง 2 ประเทศให้ดีขึ้นทุกมิติต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น: