เลขาธิการ ศอ.บต. ปิดงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี Pa(t)tani Peace Assembly 2023





ชายแดนใต้: พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต.ปิดงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี Pa(t)tani Peace Assembly 2023 เผย ภาคประชาสังคม เป็นกลไกที่สำคัญในการลดช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชน


25 กุมภาพันธ์ 2566 - ที่คณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ เป็นประธานในพิธีปิดงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี Pa(t)tani Peace Assembly 2023 โดยมีนางสุนิสา รามแก้ว ผู้ช่วยเลขาธิการศูนย์อำนวยการบริหารจังหวัดชายแดนภาคใต้ (ศอ.บต.) อาจารย์อับดุลการีม อัสมะแอ ประธานสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ตลอดจนสมาชิกขององค์กรภาคประชาสังคมในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้เข้าร่วม

พลเรือตรี สมเกียรติ ผลประยูร เลขาธิการ ศอ.บต. กล่าวว่า สภาประชาสังคมชายแดนแดนใต้ ซึ่งได้ก่อตัวขึ้นมาเมื่อ 12 ปีที่แล้ว ได้ทำหน้าที่ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในจังหวัดชายแดนภาคใต้ กิจกรรมในครั้งนี้เป็นทางออกที่จะเดินหน้าต่อไปในจังหวัดชายแดนภาคใต้ สภาประชาสังคมหรือภาคประชาสังคมที่ได้รวมกลุ่มกัน 34 องค์กรเป็นกลไกที่สำคัญเพราะเป็นองค์กรที่อยู่ตรงกลาง ที่ลดช่องว่างระหว่างรัฐกับประชาชน หรือระหว่างกลุ่มประชาชนกับประชาชน ส่วนหนึ่งก็ได้ร่วมในการสร้างพื้นที่กลางสำหรับการแสวงหาทางออกให้กับคนได้พูด ได้สื่อสารความรู้สึกได้โดยเสรี ซึ่งล้วนต้องรับฟังเพราะเป็นสิ่งที่สะท้อนจากหัวใจ กลุ่มนี้ได้ทำหน้าที่ในการเป็นกลุ่มที่สร้างพื้นที่กลางให้เกิดขึ้นเป็น Common space ให้เกิดขึ้น อย่างปลอดภัย ที่ให้ทุกคนได้สื่อสารสร้างความเข้าใจในพื้นที่ของเราเอง และนำเสนอข้อคิดเห็นต่างๆไปสู่ผู้เกี่ยวข้องทั้งปวง รวมทั้งได้มีส่วนร่วมในการบริหารจัดการทรัพยากรธรรมชาติ ทำหน้าที่ในเรื่องของชุมชนหรือครอบครัวที่มีความลำบากหรือเดือดร้อน ที่รัฐยังยื่นมือเข้าไปไม่ถึง โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง เด็กกำพร้า


สำหรับงานสมัชชาสันติภาพชายแดนใต้ปาตานี Pa(t)tani Peace Assembly 2023 จัดขึ้นโดยสภาประชาสังคมชายแดนใต้ ร่วมกับคณะวิทยาการอิสลาม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี เเละองค์กรเครือข่ายด้านสันติภาพชายแดนใต้ โดยในภาคเช้า ได้มีการนำเสนอขององค์กรประชาสังคมกับการมีส่วนร่วมในกระบวนการสันติภาพ ประกอบด้วย 10 องค์กร ได้แก่ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ , สมัชชาประชาสังคมเพื่อสันติภาพ CAP , วาระผู้หญิงชายแดนใต้ (PAOW) , เครือข่ายปกป้องเด็กชายแดนใต้ (CPN) , เครือข่ายชาวพุทธ , เครือข่าย PEACE SURVEY , เครือข่ายองค์กรสิทธิมนุษยชน , เครือข่ายองค์กรนักศึกษาและคนรุ่นใหม่ , เครือข่ายกลุ่มเปราะบางและผู้พิการ เเละเครือข่ายการศึกษา ซึ่งเครือข่ายการศึกษานำเสนอโดย ผศ.ดร.มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์ เป็นตัวแทนในฐานะเครือข่ายการศึกษาเเละคณะวิทยาการอิสลาม

หลังจากนั้น ได้มีกิจกรรมเปิดพื้นที่กลางใหม่ New Common Space หัวข้อ “นวัตกรรมกระบวนการพูดคุยสันติภาพจากประชาชนสู่ข้อเสนอเชิงนโยบาย” ซึ่งมีการแบ่งกลุ่มย่อยตามประเด็นที่น่าสนใจ อาทิ ประเด็นสื่อสร้างสรรค์ โดย นายอับดุลการีม อัสมะแอ สภาประชาสังคมชายแดนใต้ ประเด็นการศึกษานโยบายสันติภาพชายแดนใต้ของภาคประชาสังคมกับนักการเมือง โดย นายฆอซาลี อาแว สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา มหาวิทยาลัยมหิดล ประเด็นพุทธสันติ วิถีพุทธ โดยนางสมใจ ชูชาติ มหาจุฬาลงกรณ์ราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์ปัตตานี)/เครือข่ายชาวพุทธ /เพื่อนรักต่างศาสนา

ประเด็นอิสลามศึกษากับสันติภาพ โดย ผศ.ดร. มูฮัมหมัดอาฟีฟี อัซซอลีฮีย์ คณะวิทยาการอิสลาม ม.อ.ปัตตานีประเด็นข้อเสนอเชิงกระบวนการสันติภาพที่ครอบคลุม : การปรึกษาหารือสาธารณะจากข้างล่าง โดย นายแวรอมลี แวบูละ สมาคมร่วมสร้างชุมชนศรัทธา กัมปงตักวา ร่วมกับสถาบันสันติศึกษา มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ Procedural Proposal on Inclusive Peace : Public Consultation From Below ประเด็นเสียงผู้หญิงชายแดนใต้ โดยนางโซรยา จามจุรี CIVIC WOMEN ประเด็นเด็กและเยาวชน โดยนางสาวมาเรียม ชัยสันทนะ สมาคมฟ้าใส



ไม่มีความคิดเห็น:

กระบวนการยุติธรรม

[๐ กระบวนการยุติธรรม][bleft]

อุบัติเหตุ

[๐ อุบัติเหตุ][twocolumns]

คุณภาพชีวิต

[๐ คุณภาพชีวิต][bsummary]

ชายแดนใต้

[๐ ชายแดนใต้][bleft]

บทความ

[๐ บทความ][bsummary]